Two-Line Element (TLE) ตำแหน่งดาวเทียม และวัตถุที่โคจรรอบโลก ในรูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด

US Space Force จัดทำ Satellite Catalog (SATCAT) เผยแพร่ตำแหน่งของดาวเทียมและวัตถุที่โคจรรอบโลก ในรูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด ซึ่งเรียกว่า Two-Line Element Set หรือ TLE บนเว็บไซต์ SPACE-TRACK.ORG ดังแสดงในภาพด้านล่าง ซึ่งในที่นี้จะเป็นการยกตัวอย่างการถอดรหัส TLE ของดาวเทียม THEOS

TLE ของดาวเทียม THEOS

Satellite Name 
(THEOS) ชื่อดาวเทียม ความยาวไม่เกิน 11 ตัวอักษร

บรรทัดที่ 1
1.1 Satellite Catalog Number   
(33396U) 33396 เป็นหมายเลขดาวเทียมใน Satellite Catalog ซึ่งกำหนดโดย US Space Force; อักษรเดี่ยวที่เขียนต่อท้ายตัวเลขเป็น Elset classificaition, ในที่นี้ U ย่อมาจาก Unclassified object วัตถุไม่มีชั้นความลับ

1.2 International Designator
(08049A) 08 เป็นปีที่ส่งดาวเทียม ค.ศ.2008, 049 เป็นลำดับที่ส่งขึ้นสู่อวกาศในปีนั้น, A เป็นวัตถุชิ้นแรกที่ปล่อยออกมาในการส่งจรวดครั้งนั้น

1.3 Epoch Date and Julian Date Fraction
(20107.88734169) 20 หมายถึงปี 2020, ส่วน 107.88734169 เป็นวันที่ซึ่งนับต่อเนื่องโดยไม่แบ่งเดือนของปี 2020 

1.4 1st Derivative of Mean Motion with respect to time
(.00000098) เป็นค่า Ballistic coefficient ndot/2 Drag parameter (rev/day2) – one half the first time derivative of the mean motion. ค่านี้เป็น drag term ที่ใช้ใน SGP orbit propagation model

1.5 2nd Derivative of Mean Motion with respect to time (decimal point assumed) 
(00000-0) เป็นตัวเลข exponential เนื่องจากอักษรสองตัวเหลังคือ “-0” หมายถึง exponential (10-0):  เป็นค่า n double dot/6 Drag parameter (rev/day3) – one sixth the second time derivative of the mean motion.  ค่านี้เป็น drag term ที่ใช้ใน SGP orbit propagation model

1.6 B* Drag Term
(66706-4) เป็นตัวเลข exponential เทียบเท่ากับค่า 0.000066706 เนื่องจากอักษรสองตัวหลังคือ “-4” หมายถึง exponential (10-4); Bstar Drag Term หรือ Radiation Pressure Coefficient เป็นตัวแปรซึ่งใช้ใน  SGP4 orbit propagation model มีหน่วยเป็น 1/รัศมีโลก 

1.7 Ephemeris Type
(0) เป็นตัวเลขหนึ่งหลัก  (ค่า 0 ใช้ใน SPG หรือ SPG4 orbit propagation model ใน Space-Track)

1.8 Element Number and Check Sum
(9997) ตัวเลข 3 หลักแรกเป็น running number ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็น Check Sum; (999) เป็นจำนวนครั้งการกำเนิดค่า TLE ของวัตถุนี้ โดยจะทำการนับตั้งแต่ 0 – 999  ถ้าหากจำนวนครั้งการกำเนิดค่าเกิน 999 ก็จะทดเลข Check Sum = 1 ในตัวเลขสุดท้าย แต่ในกรณีนี้ตัวเลขหลักสุดท้ายคือ (7) นั่นหมายถึงการนับค่า (0-999) เป็นรอบที่แปด จึงทดเลข Check Sum = 7

บรรทัดที่ 2
2.1 Satellite Catalog Number   
(33396U) 33396 เป็นหมายเลขดาวเทียมใน Satellite Catalog ซึ่งกำหนดโดย US Space Force

2.2 Inclination
(98.7410) มุมเอียงของวงโคจร หน่วยเป็นองศา

2.3 Right Ascension of the Ascending Node (RAAN) 
(175.7161) มุมระหว่าง Vernal Equinox กับ Ascending node หน่วยเป็นองศา

2.4 Eccentricity
(0001387) เติมจุดทศนิยมข้างหน้าตัวเลข ค่าอยู่ระหว่าง 0 – <1

2.5 Argument of Perigee
(82.7420) มุมระหว่าง Ascending node กับ Perigee หน่วยเป็นองศา

2.6 Mean Anomaly 
(36.3160) มุมที่วัดจาก Perigee ไปยังตำแหน่งดาวเทียมในวงโคจร โดยสมมติว่าวงโคจรเป็นวงกลม กล่าวคือ รัศมี = Semi-major axis หน่วยเป็นองศา

2.7 Mean Motion
(14.20015876) จำนวนคาบการโคจร/วัน โดยมีทศนิยมแปดตำแหน่ง

2.8 Revolution Number and Check Sum
(59835) ตัวเลข 4 หลักแรกเป็น running number ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็น Check Sum; (5983) เป็นจำนวนคาบการโคจรที่ Epoch Time โดยทำการนับตั้งแต่ 0 – 9999 ถ้าหากจำนวนคาบการโคจรเกิน 9999 ก็จะทดเลข Check Sum = 1 ในตัวเลขสุดท้าย แต่ในกรณีนี้ตัวเลขสุดท้ายคือ (5) นั่นหมายถึงการนับค่า (0-9999) เป็นรอบที่สาม จึงทดเลข Check Sum = 5 

ศึกษาเพิ่มเติม: ดูข้อมูล TLE โดยไม่ต้องลงทะเบียนได้ที่ celestrak.com

ที่มาภาพและเนื้อหา : เขียนโดย พลอากาศตรีฐากูร เกิดแก้ว (เว็บไซต์ Krusmart.Com นำมาเผยแพร่เพื่อสะดวกในการสืบค้นและทำโครงงานของนักเรียน) [https://www.lesa.biz/เทคโนโลยีอวกาศ/ดาวเทียม/two-line-element-tle]



Leave a Comment