KruSmart : ครูผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : ร่วมกันก้าวหน้า ทำการศึกษาคุณภาพ

[Best Practice] เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย พัฒนาการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของนักเรียนเรียนร่วม

alphabet-game2ชื่อ Best Practice เรื่อง “การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย” โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice
1.1 ชื่อผู้พัฒนา Best Practice ชื่อ-สกุล นางวชิราภรณ์ มั่นคง
1.2 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา
1.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ เขต 33

2. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย”
2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาทักษะ การอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณโดยใช้“เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย”
2.3 เพื่อพัฒนาเด็กพิการเรียนร่วม ให้มีทักษะชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice เดือน มิถุนายน 2558 – สิงหาคม 2558
4. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา Best Practice
4.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
การพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียนและการอ่าน และการคิดคำนวณ โดยใช้ “เกมมหัศจรรย์พยัญชนะไทย” โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

4.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการอ่านแจกลูกสะกดคำ
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการเขียนคำได้ถูกต้อง
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการแต่งประโยค
เด็กพิการเรียนร่วม (LD) มีทักษะการเขียนเรื่องราวแบบสั้นๆได้
เด็กพิการเรียนร่วมได้รับการพัฒนา สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ครูมีความรู้ความเข้าใจสามารถใช้สื่อ / จัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย
ผู้ปกครองยอมรับและเข้าใจ พร้อมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของโรงเรียน

4.3 ความพึงพอใจต่อ Best Practice
การประเมินความพึงพอใจต่อ Best Practice มีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 80

4.4 ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา Best Practice
ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ คนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม

ภาพและเรื่องโดย : ผู้พัฒนานวัตกรรม : นางวชิราภรณ์ มั่นคง

Exit mobile version