นวัตกรรมการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์

Nestpresentชื่อผลงาน : ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์
เจ้าของผลงาน : นางสาวกาญจนา  ตุ่นคำแดง  ครู คศ.2 ร.ร.แม่ปะวิทยาคม จ.ตาก

ที่มาและความสำคัญ
การติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายสังคมในโลกไซเบอร์ ผู้คนเชื่อมโยงกันทางเครือข่าย เช่น เฟสบุค ไฮไฟว์ มายสเปซ ปัจจุบันมีผู้ใช้เฟสบุค มากกว่า 500 ล้านคน และขยายตัวอย่างรวดเร็ว เฟสบุคจึงเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายสังคมที่มีบทบาทต่อชีวิต ประจำวันเป็นอย่างมาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดโครงการที่จะเผยแพร่แนวคิดและวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ในยุคดิจิตอลให้กับครูแกนนำ เพื่อขยายผลให้กับเยาวชนเรื่อง “เรียนให้เป็นเรียน เรียนอย่างไรในยุคดิจิตอล”

ผู้วิจัยในฐานะครูไอซีทีแกนนำ จึงนำแนวคิดที่ได้รับมาขยายผลให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชา การสร้างงานนำเสนอ ให้ผู้เรียนตัดต่อวิดีโอโดยใช้โปรแกรม Windows Movie Maker แล้วเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเพื่อเป็นการลดภาระงานแก่ผู้เรียน มีระยะเวลาในการทำงาน นำเสนอมากขึ้น ผู้วิจัยจึงใช้การจัดกิจกรรมแบบบรูณาการร่วมกับวิชาฟิสิกส์และการประกอบอาชีพอิสระเข้ามาช่วยพัฒนาการสอนให้ทันสมัย และส่งเสริมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในเชิงสร้างสรรค์อีกด้วย

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร เรียนให้เป็นเรียน เรียนอย่างไรในยุคดิจิตอล
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย :  นักเรียนระดับชั้น ม.5 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม อ.แม่สอด จ.ตาก สพม. 38 จำนวน 130 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน :  มกราคม 2554-กุมภาพันธ์ 2554

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัว  รู้จักบูรณาการเชื่อมโยงองค์ความรู้หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน

2. เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีและใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในเชิงสร้างสรรค์
3. เพื่อปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมในการใช้ไอซีทีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

วิธีดำเนินการ
1. วิเคราะห์เนื้อหาของหลักสูตร
2. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ชุมชน ประสานกับเพื่อนครู
3. กำหนดภาระงาน หัวข้อให้ผู้เรียน เลือกตามความสนใจ
4. ผู้เรียนสัมภาษณ์ ถ่ายภาพ เก็บข้อมูล จากสถานที่จริง
5. ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
6. ผู้เรียนเขียนบท ถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว บันทึกเสียง
7. ตัดต่อวิดีโอโดยใช้ Windows Movie Maker
8. เผยแพร่คลิปผลงานผ่าน http://www.facebook.com
9. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันประเมินผลงาน

ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
1. ทักษะการสื่อสาร
2. ทักษะการแสวงหาความรู้ / สืบค้น
3. ทักษะการคิด / การแก้ปัญหา
4. ทักษะการใช้เทคโนโลยี
5. คุณธรรม จริยธรรมในการใช้ไอซีที

ผลที่เกิดกับผู้เรียน
1. สร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และชุมชนที่อาศัยอยู่
2. บูรณาการองค์ความรู้และร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. รู้จักคิดวิเคราะห์ วางแผน เรียงลำดับการนำเสนอผลงาน
4. ใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงความรู้จากชุมชนสู่สังคมออนไลน์

ข้อเสนอแนะ
1. ส่งเสริมผู้เรียนพัฒนาสื่อวิดีโอที่บูรณาการในรายวิชาอื่น
2. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ทันสมัย
3. ขยายผลการจัดกิจกรรมแก่เพื่อนครูและผู้สนใจ



Leave a Comment