รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เสริมสร้างสมรรถนะครู ในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

ชื่อเรื่อง : รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

ชื่อผู้วิจัย : นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่เผยแพร่ : ปี พ.ศ. 2566

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ เพื่อสร้าง เพื่อศึกษาผลการใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยและพัฒนา ที่ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน (2) สร้างรูปแบบ ยกร่างรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ ตรวจสอบรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยนำไปใช้จริงในปีการศึกษา 2564 กับครู จำนวน 30 คน (4) ประเมินรูปแบบโดยครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพจริง และวิธีการพัฒนาวิชาชีพ 2) การสร้างความตระหนัก แรงบันดาลใจ องค์ความรู้และความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ 3) การเสริมสร้างพลังในการจัดการเรียนรู้ 4) ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ และ 5) การเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (2) รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยรวมรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ครูมีสมรรถนะด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) รูปแบบมีความถูกต้องครอบคลุม ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

Title : The Professional Learning Community Model for Enhance Learning Management Competency on Blended Learning and Creative Problem Solving Learning that Promote Students’ Creative Independent Study Ability of Naraikhamphongwittaya School

Abstract

The objective of this research were to study the PLC model components, to create the PLC model, to implement the PLC model and to evaluate the Professional Learning Community Model for enhancement teacher competency on blended learning and creative problem solving learning that promote students’ creative independent study ability of Naraikhamphongwittaya secondary school. The research use the research and development methodology 4 stages; 1) studying the PLC model components by literature reviewing and interview with 10 experts. 2) Creating the PLC model by drafting the model and the models’ suitable assessment by 9 the academic experts. 3) Implementing the PLC model in 2564 academic year by 30 teachers. 4) Evaluating the PLC model. The data was collected from 30 teachers. The research instruments were interview form, checking form, questionnaires. The statistics used for data analysis were mean standard deviation, content analysis and summary. The finding showed as follow; the Professional Learning Community components consist of 5 components; analyzing current status and professional development; raising awareness, inspiration, and teaching’s performance; empower of learning management; result of teaching and learning; dissemination of best practices to learning community. The PLC model consist of 5 factors; (a) Principle, (b) Objectives, (c) PLCs’ elements, (d) Measurement and evaluation and (e) Successfully conditions that the PLC model’s suitable in overall was the highest level. The implement results of the PLC model showed that 1) the teachers ‘competency in learning unit design was at a high level. 2) the teachers’ competency in learning activity was at a high level. 3) the teachers’ competency in classroom research was at a high level. 4) the students’ creative independent study ability was at a high level. And the PLC model evaluation in accuracy standards, utility standards, propriety standards, and feasibility standards were the highest level.

Keywords: The PLC Model, blended learning, independent study.



Leave a Comment