รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

ชื่อผู้วิจัย : นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่เผยแพร่ : ปี พ.ศ. 2566

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบ CIPPIEST ประเมิน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (C: Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (E: Efficiency Evaluation) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) และด้านการส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร 6 คน ครู 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน 223 คน รวมทั้งสิ้น 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า (1) ด้านบริบท (C: Context Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการจัดการศึกษาของโรงเรียน (2) ด้านปัจจัยนำเข้า (I: Input Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด บุคลากรมีความรับผิดชอบและมีความพร้อมในการดำเนินงานภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ (3) ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด กระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีความชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม (4) ด้านผลผลิต (P: Product Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เกี่ยวข้องมีผลงานและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (5) ด้านผลกระทบ (I: Impact Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนได้รับการยอมรับและมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา (6) ด้านประสิทธิผล (E: Efficiency Evaluation) อยู่ในระดับมาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อความสำเร็จของแต่ละกิจกรรมในโครงการ (7) ด้านความยั่งยืน (S: Sustainability Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เกี่ยวข้องมีความเชี่ยวชาญและพร้อมให้ความร่วมมือดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง (8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T: Transportability Evaluation) อยู่ในระดับมาก โครงการสามารถเป็นแบบอย่างของความสำเร็จ สามารถขยายผลให้กับโรงเรียนอื่นได้

คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, โรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์, CIPPIEST

Title : The Evaluation of Science, Mathematics, and Technology Quality School Project in Naraikhamphongwittaya School

Abstract

This study aimed to evaluate of Science, Mathematics, and Technology Quality School Project in Naraikhamphongwittaya School by applying CIPPIEST Evaluation Model in 8 aspects of (1)  Context Evaluation (2) Input Evaluation (3) Process Evaluation (4) Product Evaluation (5) Impact Evaluation (6) Efficiency Evaluation (7) Sustainability Evaluation) and (8)  Transportability Evaluation. Sample consisted of 6 principals, 25 teachers, 223 parents. Instruments were questionnaires for principals, teachers, and parents. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The finding was: (1) Context Evaluation was in the highest level. The project has coherent with the Thai National Strategy, school’s vision, and the important goals of school’s education management. (2) Input Evaluation was in the highest level. The teachers have a responsibility and ready to work within budget constraints. (3) Process Evaluation was in the highest level. The project implementation process is clear and related persons perform their duties appropriately. (4) Product Evaluation was in the highest level. Participants involved have works and achievements in science, mathematics and technology. (5) Impact Evaluation was in the highest level. The school is recognized and has confidence in providing education. (6) Efficiency Evaluation was in the high level. The stakeholders are satisfied with the success of each project activities. (7) Sustainability Evaluation was in the highest level. Participants have expertise and are ready to cooperate with the next ongoing projects. And (8) Transportability Evaluation was in the high level. A project could be a model of success and extend to other schools.

Keywords: Project Evaluation, Science Quality School, CIPPEST



Leave a Comment