[Patt_Curtin4] วิทยาศาสตร์ศึกษา สัปดาห์ที่ 4 ที่ Curtin University การทำวิจัย visual representations (VRs) in plant anatomy

การพบอาจารย์ในสัปดาห์ที่ 4 ที่ Curtin University

อาจารย์ถามเรื่องการเข้าร่วม conference ในสัปดาห์ที่แล้วว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีอะไรที่ต่างกันบ้างระหว่างไทยและออสเตรเลีย และสิ่งใดบ้างที่จะมีประโยชน์่ต่องานของเรา การได้คุยกับอาจารย์แต่ละครั้ง รวมถึงรับฟังการสะท้อนงานของอาจารย์ช่วยกระตุ้นการคิดได้ดี และได้รู้ว่าเราต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติมบ้าง และไม่ใช่แค่อ่านอย่างเดียว ต้องคิดและเขียนด้วย

ในวันพฤหัสบดีได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนองานของนิสิตระดับปริญญาเอกซึ่งกำลังเตรียมตัวไปนำเสนองานใน conference ที่ต่างประเทศ โอกาสนี้นิสิตก็ได้มานำเสนอให้กับคณะฟัง ที่น่าสนใจคือมีอาจารย์และนิสิตหลากหลายสาขามาฟังนิสิตพร้อมทั้งให้คำแนะนำอย่างกัลยาณมิตร ตั้งแต่เรื่อง เนื้อหาการวิจัย รูปแบบการนำเสนอ ตลอดจน presentation ที่ทำมา

โดยนิสิตคนนี้จะไปนำเสนองานในหัวข้อ University Students’ interpretations of visual representations (VRs) in plant anatomy โดยนิสิตมีพื้นฐานทางทฤษฎีดีมาก มีการตรวจเอกสารมาอย่างดี และเข้าใจสิ่งที่ตนเองทำ ซึ่งเหตุผลและที่มาที่สนใจ VRs เนื่องมาจากพบว่า เวลาดู plant anatomy จากภาพในหนังสือ หรือจากกล้องจุลทรรศน์ นิสิตปริญญาตรีจะมีปัญหาคือ focus ที่จุดสำคัญต่างกัน ทำให้มี VRs ที่หลากหลาย และเมื่อจะต้องไปศึกษาพืชชนิดอื่นที่ต่างจากที่เรียนในห้องก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ เมื่อมีอาจารย์ถามว่าทำไมสนใจเรื่อง VRs นิสิตก็ตอบว่า เพราะเขาเชื่อว่า VRs เป็น learning tool ที่ดีที่จะช่วยให้นิสิตปริญญาตรีของเขาเรียนรู้เรื่อง plant anatomy ที่ดีขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษา students conceptual understanding กับนิสิตปริญญาตรีที่เรียนสาขาชีววิทยาจำนวน 79 คน เพื่อจะได้ทราบความเข้าใจจริง ๆ ของนักเรียนเมื่อเรียนเกี่ยวกับ plant anatomy โดยนิสิตคนนี้ได้สร้างเครื่องมือเป็น paper-pencil test ซึ่งเครื่องมือนี้ ใน 1 สถานการณ์ จะมีคำถามทั้งเกี่ยวกับแนวคิด มีภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ให้นิสิตดูและให้ระบุลงไปว่านิสิตกำลังดูตรงไหน ส่วนไหนคืออะไร มีการให้นิสิตวาดภาพจากการดูจากกล้องจุลทรรศน์ด้วยตนเอง และอธิบายให้เหตุผลว่าทำไมตนเองจึงตอบเช่นนั้น มีการยกตัวอย่างพืชจริง ๆ แล้วให้นิสิตพิจารณาว่าน่าจะเป็นพืชประเภทใด โดยทั้งชุดจะมีคำถาม 5 สถานการณ์ จากนั้นจึงนำคำตอบของนิสิตมาวิเคราะห์ โดยมีการจัดกลุ่มแนวคิดที่ละเอียดมาก ไม่ใช่แค่ SU PU และไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มแนวคิดไว้ก่อน แต่เป็นการนำคำตอบของนิสิตมากำหนดเป็นกลุ่มแนวคิด ตัวอย่างของกลุ่มแนวคิด เช่น กลุ่ม Unsound reasoning ก็จะมีกลุ่มย่อยอีกหลายกลุ่มอยู่ภายใต้กลุ่มแนวคิดนี้ หรือกลุ่ม Incorrect ก็จะมีหลายกลุ่มย่อย เช่น กลุ่มที่ตีความผิด หรือกล่าวอ้างผิด หรือวาดรูปพยายามให้เหมือนรูปในหนังสือจนละเลยภาพจริง ๆ ที่ดูจากกล้องจุลทรรศน์

ประเด็นสุดท้ายที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ พอดีได้ไปที่ห้องสมุดกลางของเมือง เขากำลังมีกิจกรรมสำหรับเด็ก ๆ ได้เห็นคุณผู้หญิงชุดชมพู 2 คน จัดกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ โดยโจทย์คือ ทำยังไงพวกเราจะเดินไปถึงจุดหมายได้ ซึ่งระยะทางไม่ได้ไกล มันก็คือลานหน้าห้องสมุด แต่สิ่งที่น่าชื่นชมคือ ผู้นำกิจกรรมทั้ง 2 คนเก่งมาก ๆ อุปกรณ์ไม่เยอะ อาจจะลงทุนหนักเรื่องแต่งหน้าทำผม แต่อุปกรณ์ที่เหลือคือธรรมดามาก มีกระดาษ มีชอล์ค มีลูกบอล สิ่งที่เขาทั้งสองคนดึงดูดเด็ก ๆ ได้คือ ทำให้เรื่องที่ทำอยู่เป็นเรื่องจริงจัง ทำกับเด็กๆเหมือนกับเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่กำลังแก้ปัญหา ให้เกียรติเด็ก ๆ ได้เสนอวิธีการ ตั้งใจฟังเด็ก ๆ เมื่อเด็กคนไหนทำสำเร็จก็ชื่นชม โดยบริเวณหน้าห้องสมุดจะมีเส้นสีเหลือง ๆ ขีดอยู่เป็นระยะ พอเส้นห่างกัน คุณผู้หญิง 2 คน (คนหนึ่งชื่อ Rebecca อีกคนชื่ออะไรไม่ทราบฟังไม่ออก) ก็จะปรึกษากับเด็กๆ ว่าเราจะข้ามไปยังไง เช่นตอนนี้ วิธีแก้ปัญหาคือ เอาชอล์คขีดเชื่อมต่อเส้นสีเหลือง และก็จะสอนเด็ก ๆ ว่าต้องไปเป็นแถว ต้องข้ามทีละคน และอีกสิ่งที่น่ารักคือ คุณแม่ทั้งหลายต่างก็เต็มใจร่วมกิจกรรมไปด้วย คือเป็นกิจกรรมที่นานมาก เราเดินไปทานอาหารเที่ยงกลับมายังไม่เสร็จ แต่คุณ Rebecca และเพื่อนได้เด็ก ๆ เดินตามอีก10 กว่าคน

ที่มา : https://web.facebook.com/pattamaporn.pimthong/posts/1909225039093849
หมายเหตุ : บทความนี้ มาจากประสบการณ์และทัศนคติของผู้เขียน (อ.ดร.ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง) เท่านั้น และผู้เขียนอนุญาตให้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ www.krusmart.com หากบุคคลอื่นจะนำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อ ให้ติดต่อและขออนุญาตผู้เขียนก่อนทุกครั้ง



Leave a Comment